การกลั่นเป็นการแยกสารละสายที่เป็นของเหลวออกจากของผสม โดยอาศัยหลักการระเหยกลายเป็นไปและควบแน่น โดนที่สารบริสุทธิ์แต่ละชนิดเปลี่ยนสถานะได้ที่อุณหภูมิจำเพาะ สารที่มีจุดเดือดต่ำจะเดือดเป็นไอออกมาก่อน เมื่อทำให้ไอของสารมีอุณหภูมิต่ำลงจะควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง
1. การกลั่นแบบธรรมดาหรือการกลั่นอย่างง่าย (simple distillation)
2. การกลั่นลำดับส่วน (fractional distillation)
3. การกลั่นน้ำมันดิบ (refining)
4. การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
1. การกลั่นแบบธรรมดาหรือการกลั่นอย่างง่าย (simple distillation)
2. การกลั่นลำดับส่วน (fractional distillation)
3. การกลั่นน้ำมันดิบ (refining)
4. การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
1. การกลั่นแบบธรรมดาหรือการกลั่นอย่างง่าย (simple distillation)
เป็นวิธีการ ที่ใช้กลั่นแยกสารที่ระเหยง่ายซึ่งปนอยู่กับสารที่ระเหยยาก การกลั่นธรรมดานี้ จะใช้แยกสารออกเป็นสารบริสุทธิ์เพียงครั้งเดียวได้สารที่มีจุดเดือดต่างกัน ตั้งแต่ 80 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
ภาพที่ 13 การกลั่นแบบธรรมชาติหรือการกลั่นแบบง่าย
ที่มา : http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub07.html
ที่มา : http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub07.html
เครื่องมือที่ใช้สำหรับการกลั่นอย่างง่าย ประกอบด้วย ฟลาสกลั่น เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องควบแน่น และภาชนะรองรับสารที่กลั่นได้ การกลั่นอย่างง่ายมีเทคนิคการทำเป็นขั้น ๆ ดังนี้
1. เทของเหลวที่จะกลั่นลงในฟลาสกลั่น โดยใช้กรวยกรอง
2. เติมชิ้นกันเดือดพลุ่ง เพื่อให้การเดือดเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและไม่รุนแรง
3. เสียบเทอร์โมมิเตอร์
4. เปิดน้ำให้ผ่านเข้าไปในคอนเดนเซอร์เพื่อให้คอนเดนเซอร์เย็น โดยให้น้ำเข้าทางที่ต่ำแล้วไหลออกทางที่สูง
5. ให้ความร้อนแก่พลาสกลั่นจนกระทั่งของเหลวเริ่มเดือด ให้ความร้อนไปเรื่อย ๆ จน กระทั่งอัตราการกลั่นคงที่ คือได้สารที่กลั่นประมาณ 2 - 3 หยด ต่อวินาที ให้สารที่กลั่นได้นี้ไหลลงในภาชนะรองรับ
6. การกลั่นต้องดำเนินต่อไปจนกระทั่งเหลือสารอยู่ในฟลาสกลั่นเพียงเล็กน้อยอย่ากลั่นให้แห้ง
1. เทของเหลวที่จะกลั่นลงในฟลาสกลั่น โดยใช้กรวยกรอง
2. เติมชิ้นกันเดือดพลุ่ง เพื่อให้การเดือดเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและไม่รุนแรง
3. เสียบเทอร์โมมิเตอร์
4. เปิดน้ำให้ผ่านเข้าไปในคอนเดนเซอร์เพื่อให้คอนเดนเซอร์เย็น โดยให้น้ำเข้าทางที่ต่ำแล้วไหลออกทางที่สูง
5. ให้ความร้อนแก่พลาสกลั่นจนกระทั่งของเหลวเริ่มเดือด ให้ความร้อนไปเรื่อย ๆ จน กระทั่งอัตราการกลั่นคงที่ คือได้สารที่กลั่นประมาณ 2 - 3 หยด ต่อวินาที ให้สารที่กลั่นได้นี้ไหลลงในภาชนะรองรับ
6. การกลั่นต้องดำเนินต่อไปจนกระทั่งเหลือสารอยู่ในฟลาสกลั่นเพียงเล็กน้อยอย่ากลั่นให้แห้ง
การกลั่นสามารถนำมาใช้ทดสอบความบริสุทธิ์ของของเหลวได้ซึ่งของเหลว ที่บริสุทธิ์ จะมีลักษณะดังนี้
1. ส่วนประกอบของสารที่กลั่นได้ จะมีลักษณะเหมือนกับส่วนประกอบ ของของเหลว
2. ส่วนประกอบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
3. อุณหภูมิของจุดเดือดในขณะกลั่นจะคงที่ตลอดเวลา
4. การกลั่นจะทำให้เราทราบจุดเดือดของของเหลวบริสุทธิ์ได้
การกลั่นนอกจากจะนำมาใช้ตรวจสอบ ความบริสุทธิ์ของของเหลวแล้วยังสามารถใช้กลั่นสารละลายได้อีกด้วย การกลั่นสารละลายเป็นกระบวนการแยกของแข็งที่ไม่ระเหยออกจากตัวทำละลายหรือ ของเหลวที่ระเหยง่าย โดยของแข็ง ที่ไม่ระเหยหรือตัวละลาย จะอยู่ในฟลาสกลั่น ส่วนของเหลวที่ระเหยง่ายจะถูกกลั่นออกมา เมื่อการกลั่นดำเนินไปจนกระทั่งอุณหภูมิของการกลั่นคงที่แสดงว่าสารที่เหลือนั้นเป็นสารบริสุทธิ์
อนึ่งในขณะกลั่นจะสังเกตเห็นว่าอุณหภูมิของสารละลายจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสารละลายเข้มข้นขึ้น เนื่องจากตัวทำละลายระเหยออกไปและได้ของแข็งที่บริสุทธิ์ ในที่สุด
2. การกลั่นลำดับส่วน (fractional distillation)
การกลั่นลำดับส่วนเป็นวิธีการแยกของเหลวที่สามารถระเหยได้ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มีหลักการเช่นเดียวกันกับการกลั่นแบบธรรมดา คือเพื่อต้องการแยกองค์ประกอบในสารละลายให้ออกจากกัน แต่ก็จะมีส่วนที่แตกต่างจากการกลั่นแบบธรรมดา คือ การกลั่นแบบกลั่นลำดับส่วน เหมาะสำหรับใช้กลั่นของเหลวที่เป็นองค์ประกอบของ สารละลายที่จุดเดือดต่างกันน้อย ๆ ในขั้นตอนของกระบวนการกลั่นลำดับส่วน จะเป็นการนำไอของแต่ละส่วนไปควบแน่น แล้วนำไปกลั่นซ้ำและควบแน่นไอเรื่อย ๆ ซึ่งเทียบได้กับเป็นการกลั่นแบบธรรมดาหลาย ๆ ครั้งนั่นเอง ความแตกต่างของการกลั่นลำดับส่วนกับการกลั่นแบบธรรมดาจะอยู่ที่คอลัมน์ โดยคอลัมน์ของการกลั่นลำดับส่วนจะมีลักษณะเป็นชั้นซับซ้อน เป็นชั้น ๆ ในขณะที่คอลัมน์แบบธรรมดาจะเป็นคอลัมน์ธรรมดา ไม่มีความซับซ้อนของคอลัมน์
ภาพที่ 14 การกลั่นลำดับส่วน
ที่มา : http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub07.html
ที่มา : http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub07.html
ในการกลั่นแบบลำดับส่วน จะต้องมีการเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้า ๆ ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่ให้ความร้อน (heater) และสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เพราะของผสมที่กลั่นแบบลำดับส่วนมักจะมีจุดเดือดที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับการกลั่นแบบธรรมดา ความร้อนที่ให้ไม่จำเป็นต้องควบคุมเหมือนการกลั่นลำดับส่วน แต่ก็ไม่ควรให้ ความร้อนที่สูงเกินไป เพราะความร้อนที่สูงเกินไป อาจจะไปทำลายสารที่เราต้องการกลั่นเพราะฉะนั้นประสิทธิภาพในการกลั่นลำดับส่วนจึงดีกว่าการกลั่นแบบธรรมดา
3. การกลั่นน้ำมันดิบ (refining)
เนื่องจากน้ำมันดิบ ประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายพันชนิด ดังนั้นจึงไม่สามารถแยกสารที่มีอยู่ออกเป็น สารเดี่ยว ๆ ได้ อีกทั้งสารเหลวนี้มีจุดเดือดใกล้ เคียงกันมากวิธีการแยกองค์ประกอบน้ำมันดิบจะทำได้โดยการกลั่นลำดับส่วนและเก็บสาร ตามช่วงอุณหภูมิ ซึ่งก่อนที่จะกลั่นจะต้องนำน้ำมันดิบมาแยกเอาน้ำ และสารประกอบกํามะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจนและโลหะหนักอื่น ๆ ออกไปก่อนที่จะนำไปเผาที่อุณหภูมิ 320 - 385 C0 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่น ได้แก่
- ก๊าซ (C1 - C4) ซึ่งเป็นของผสมระหว่างก๊าซมีเทน อีเทน โพรเพนและบิวเทน เป็นต้น ประโยชน์ : มีเทนใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า อีเทน โพรเพนและบิวเทน ใช้ในอุตสาหกรรม
- ปิโตรเคมี และโพรเพน และบิวเทนใช้ทําก๊าซหุงต้ม (LPG)
- แนฟทาเบา (C5 - C7) ประโยชน์ : ใช้ทําตัวทําละลาย - แนฟทาหนัก (C6 - C12) หรือ เรียกว่าน้ำ
- มันเบนซินประโยชน์ : ใช้ทําเชื้อเพลิงรถยนต์
- น้ำมันก๊าด (C10 - C14) ประโยชน ์ : ใช้ทําเชื้อเพลิงสําหรับตะเกียง และเครื่องยนต์
- น้ำมันดีเซล (C14 - C19) ประโยชน์ : ใช้ทําเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล ได้แก่ รถบรรทุก , เรือ
- น้ำมันหล่อลื่น (C19 - C35) ประโยชน์: ใช้ทําน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เครื่องจักรกล - ไขน้ำมันเตาและยางมะตอย (C > C35)
ภาพที่ 15 การกลั่นน้ำมันดิบ
ที่มา : http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub07.html
ที่มา : http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub07.html
4. การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
เป็นวิธีการสกัดสารออก จากของผสมโดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลาย วิธีนี้ใช้สำหรับแยกสารที่ระเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำออกจากสาร ที่ระเหยยาก การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ นอกจากใช้สกัดสารระเหยง่าย ออกจาก สารระเหยยากแล้วยังสามารถใช้แยกสารที่มีจุดเดือดสูง และสลายตัวที่จุดเดือด ของมันได้อีก เพราะการกลั่นโดยวิธีนี้ความดันจะเป็นความดันไอน้ำบวกความดันไอน้ำของของเหลวที่ต้องการแยก จึงทำให้ความดันไอน้ำเท่ากับความดันของบรรยากาศก่อนที่อุณหภูมิจะถึงจุดเดือดของ ของเหลวที่ต้องการแยกของผสมจึงกลั่นออกมา ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของของเหลวที่ต้องการแยก เช่น สาร A มีจุดเดือด 150 C0 เมื่อสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำจะได้สาร A กลายเป็นไอออกมา
ณ อุณหภูมิ 95 C0 ที่ความดัน 760 มิลลิเมตร ของปรอท อธิบายได้ว่า ที่ 95 C0 ถ้าความดันไอน้ำของสาร A เท่ากับ 120 มิลลิเมตร ของปรอท และไอน้ำเท่ากับ 640 มิลลิเมตรของปรอท เมื่อความดันไอน้ำของสาร A รวมกับไอน้ำจะเท่ากับ 760 มิลลิเมตรของปรอท หรือเท่ากับความดันบรรยากาศ จึงทำให้สาร A และน้ำกลายเป็นไอออกมาได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือด ของสาร A ตัวอย่างการแยกสารโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
การแยกน้ำมันหอมระเหยออกจาก ส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น การแยกน้ำมัน ยูคาลิปตัสออกจากใบยูคาลิปตัสการแยกน้ำมันมะกรูด ออกจากผิวมะกรูดการแยกน้ำมันอบเชยจากเปลือกต้นอบเชย เป็นต้น ในการกลั่นไอน้ำจะไปทำให้น้ำมันหอมระเหยกลายเป็นไอแยกออกมาพร้อมกับไอน้ำ เมื่อทำให้ไอของของผสมควบแน่น โดยผ่านเครื่องควบแน่นก็จะได้น้ำและน้ำมันหอมระเหยปนกัน แต่แยกชั้นกันอยู่ ทำให้สามารถแยกเอาน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำได้ง่าย
เป็นวิธีการสกัดสารออก จากของผสมโดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลาย วิธีนี้ใช้สำหรับแยกสารที่ระเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำออกจากสาร ที่ระเหยยาก การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ นอกจากใช้สกัดสารระเหยง่าย ออกจาก สารระเหยยากแล้วยังสามารถใช้แยกสารที่มีจุดเดือดสูง และสลายตัวที่จุดเดือด ของมันได้อีก เพราะการกลั่นโดยวิธีนี้ความดันจะเป็นความดันไอน้ำบวกความดันไอน้ำของของเหลวที่ต้องการแยก จึงทำให้ความดันไอน้ำเท่ากับความดันของบรรยากาศก่อนที่อุณหภูมิจะถึงจุดเดือดของ ของเหลวที่ต้องการแยกของผสมจึงกลั่นออกมา ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของของเหลวที่ต้องการแยก เช่น สาร A มีจุดเดือด 150 C0 เมื่อสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำจะได้สาร A กลายเป็นไอออกมา
ณ อุณหภูมิ 95 C0 ที่ความดัน 760 มิลลิเมตร ของปรอท อธิบายได้ว่า ที่ 95 C0 ถ้าความดันไอน้ำของสาร A เท่ากับ 120 มิลลิเมตร ของปรอท และไอน้ำเท่ากับ 640 มิลลิเมตรของปรอท เมื่อความดันไอน้ำของสาร A รวมกับไอน้ำจะเท่ากับ 760 มิลลิเมตรของปรอท หรือเท่ากับความดันบรรยากาศ จึงทำให้สาร A และน้ำกลายเป็นไอออกมาได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือด ของสาร A ตัวอย่างการแยกสารโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
การแยกน้ำมันหอมระเหยออกจาก ส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น การแยกน้ำมัน ยูคาลิปตัสออกจากใบยูคาลิปตัสการแยกน้ำมันมะกรูด ออกจากผิวมะกรูดการแยกน้ำมันอบเชยจากเปลือกต้นอบเชย เป็นต้น ในการกลั่นไอน้ำจะไปทำให้น้ำมันหอมระเหยกลายเป็นไอแยกออกมาพร้อมกับไอน้ำ เมื่อทำให้ไอของของผสมควบแน่น โดยผ่านเครื่องควบแน่นก็จะได้น้ำและน้ำมันหอมระเหยปนกัน แต่แยกชั้นกันอยู่ ทำให้สามารถแยกเอาน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำได้ง่าย
ภาพที่ 16 การกลั่นด้วยไอน้ำ
ที่มา : http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub07.html
ที่มา : http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub07.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น