1. สารที่เคลื่อนที่ออกมาก่อน แสดงว่า ละลายในตัวทำละลายได้ดี และถูก กระดาษกรองดูดซับได้น้อย จึงเคลื่อนที่ได้เร็ว
2. สารที่เคลื่อนที่ออกทีหลัง แสดงว่า ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี และถูก กระดาษกรองดูดซับได้ดี จึงเคลื่อนที่ช้า
2. สารที่เคลื่อนที่ออกทีหลัง แสดงว่า ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี และถูก กระดาษกรองดูดซับได้ดี จึงเคลื่อนที่ช้า
การวิเคราะห์สารว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ มีหลักการดังนี้
1. มีสีเดียวกัน
2. มีค่า Rf เดียวกัน
3. มีระบบการทดลองเดียวกัน
ข้อจำกัดหรือข้อเสียของวิธีโครมาโทกราฟี
ถ้าสารที่ต้องการจะแยกออกจากกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลายได้เท่ากัน และถูกดูดซับเท่ากัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะจะเคลื่อนที่ ไปพร้อมกันด้วยระยะเท่ากัน
วิธีแก้ไข
1. เปลี่ยนชนิดของสารละลาย
2. เพิ่มระยะทางของตัวดูดซับให้ยาวขึ้น แบบคอลัมน์โครมาโทกราฟี หรือแบบลำกระบอก ใช้แยกสารที่มีปริมาณมาก ๆ ได้
2. เพิ่มระยะทางของตัวดูดซับให้ยาวขึ้น แบบคอลัมน์โครมาโทกราฟี หรือแบบลำกระบอก ใช้แยกสารที่มีปริมาณมาก ๆ ได้
อัตราการเคลื่อนที่ของสาร (Rf = Rate of flow)
คือ อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางที่สารเคลื่อนที่ได้กับระยะทาง ที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่
Rf = ระยะทางที่สารเคลื่อนที่
ระยะทางที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่
ระยะทางที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่
สารที่มีค่า Rf มาก แสดงว่ามีสมบัติ | สารที่มีค่า Rf น้อย แสดงว่ามีสมบัติ |
---|---|
1. เคลื่อนที่ได้เร็วหรือมาก 2. ถูกดูดซับได้น้อย 3. ละลายได้ดี | 1. เคลื่อนที่ได้ช้าหรือน้อย 2. ถูกดูดซับได้มาก 3. ละลายได้น้อย |
สมบัติของ Rf
1. ค่า Rf ไม่มีหน่วย
2. ค่า Rf หาได้จากการทดลองเท่านั้น
3. ค่า Rf มีค่าไม่เกิน 1
4. ค่า Rf ขึ้นอยู่กับชนิดของสารและชนิดตัวทำละลาย
5. ค่า Rf เป็นค่าเฉพาะค่าคงที่ของแต่ละสาร
2. ค่า Rf หาได้จากการทดลองเท่านั้น
3. ค่า Rf มีค่าไม่เกิน 1
4. ค่า Rf ขึ้นอยู่กับชนิดของสารและชนิดตัวทำละลาย
5. ค่า Rf เป็นค่าเฉพาะค่าคงที่ของแต่ละสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น